การทำสัญญาเช่า เป็นการทำข้อตกลงระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า โดยภายในเอกสารจะระบุถึงรายละเอียดข้อตกลง เงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาเช่าหอพัก ระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าตกลงทำร่วมกัน ซึ่งจะมีระยะเวลาและเงื่อนไขระบุไว้ตามที่ผู้ให้เช่าได้กำหนดขึ้นมา
สัญญาเช่า (Lease Agreement) : คือ เอกสารที่ระบุสัญญา รายละเอียดข้อตกลง รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าตกลงทำร่วมกัน โดยมีระยะเวลาและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ผู้ให้เช่าได้กำหนดขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เช่ามีส่วนสิทธิ์ในการใช้ทรัพย์สินหรือสินทรัพย์ของผู้ให้เช่า อาทิ บ้าน รถ อะพาร์ตเมนต์ ฯลฯ ตามที่ระบุไว้ใน
สัญญาเช่า จัดทำขึ้นเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า และสัญญาเช่าจำเป็นอย่างยิ่งในส่วนของการทำสัญญาเช่าที่เกี่ยวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นหนังสือสัญญาขึ้นมา เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดหรือข้อขัดแย้งระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า จะสามารถใช้หนังสือสัญญาที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีนั้นเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีในชั้นศาลได้
ประเภทของสัญญาเช่า สามารถแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะการใช้งาน โดยจะมีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้เบื้องต้นดังนี้
สัญญาเช่าทั่วไป (General Lease Agreement)
- ใช้สำหรับการเช่าทั่วไป เช่น เช่าบ้าน, เช่าห้องพัก, เช่าอะพาร์ตเมนต์
- เนื้อหาสัญญามักครอบคลุมค่าเช่า, ระยะเวลาการเช่า, ข้อกำหนดการใช้ทรัพย์สิน, และเงื่อนไขการยกเลิกสัญญา
สัญญาเช่าพื้นที่พาณิชย์ (Commercial Lease Agreement)
- ใช้สำหรับการเช่าเพื่อการพาณิชย์ เช่น ร้านค้า สำนักงาน ฯลฯ
- จะเป็นการเช่ารายเดือน ระยะเวลาการเช่า กำบำรุง ภาษีประกัน และการใช้พื้นที่ตามวัตถุประสงค์การค้า
สัญญาเช่าระยะสั้น (Short-Term Lease Agreement)
- ใช้สำหรับการเช่าชั่วคราว เช่น ที่พักรายวัน หรือรายสัปดาห์
- เหมาะกับการเช่าที่ไม่ต้องการใช้ระยะเวลานาน
สัญญาเช่าระยะยาว (Long-Term Lease Agreement)
- ใช้สำหรับการเช่าระยะยาว เช่น เช่าบ้าน เช่าพื้นที่พาณิชย์ที่มีระยะเวลาหลายปี
- มีรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญา ข้อตกลง เงื่อนไขต่าง ๆ รวมถึงค่าปรับ
สัญญาเช่าซื้อ (Lease-to-Own Agreement หรือ Lease-Purchase Agreement)
- ใช้สำหรับการเช่าที่มีตัวเลือกให้เช่าซื้อทรัพย์สินหลังจากครบระยะเวลาเช่า
- เงื่อนไขมักครอบคลุมค่าเช่า ราคา ระยะเวลา และการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
สัญญาเช่าแฟลต (Flat Lease Agreement)
- ใช้สำหรับการเช่าแฟลตหรือคอนโดมิเนียม
- เนื้อหาส่วนใหญ่ครอบคลุมค่าเช่า ระยะเวลาการเช่า กำบำรุงรักษา รวมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังมีสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ อีกมากมายที่ต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้เช่าและผู้ให้เช่า
ถัดจากประเภทของสัญญาเช่า สาระสำคัญในสัญญาเช่า โดยในสัญญาเช่าจะต้องมีรายละเอียดดังนี้
- ข้อมูลเบื้องต้นของผู้เช่าและผู้ให้เช่า : ที่อยู่ ข้อมูลที่ติดต่อต่าง ๆ
- รายละเอียดของทรัพย์สินที่เช่า : ที่ตั้ง ลักษณะ ขนาด ฯลฯ
- ค่าเช่าและเงื่อนไขในการชำระ : ค่าเช่ารายเดือน วิธีการชำระ ค่าประกัน และค่าอื่น ๆ ที่ทำข้อตกลงร่วมกัน
- ระยะเวลาการเช่า : วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้งาน การดูแลรักษา การปรับปรุงต่าง ๆ
- เงื่อนไขการยกเลิกสัญญา : เงื่อนไขและขั้นตอนในการยกเลิกก่อนครบกำหนด ค่าปรับ เป็นต้น
- ข้อปฏิบัติหากผิดสัญญา
- ลายมือการลงนามของทั้งฝั่งผู้เช่าและผู้ให้เช่า เอกสารสัญญาจะต้องมีด้วยกันสองฉบับและจะต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วนและถูกต้องเหมือนกันทั้งสองฉบับ
ขั้นตอนการทำสัญญา
การทำสัญญาเช่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำข้อตกลงระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า เพื่อให้การเช่าทรัพย์สินดำเนินไปอย่างเป็นธรรมและมีหลักฐานที่ชัดเจน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้:
1. เตรียมข้อมูลที่จำเป็น
ก่อนทำสัญญาเช่า ควรเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งจากฝั่งผู้ให้เช่าและผู้เช่า รวมถึงรายละเอียดทรัพย์สินที่เช่า ข้อมูลที่จำเป็นได้แก่:
- ชื่อและที่อยู่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า
- รายละเอียดทรัพย์สิน เช่น ที่ตั้ง เลขที่ห้อง (ถ้าเป็นอาคาร)
- ระยะเวลาในการเช่า
- ค่าเช่าและวิธีการชำระเงิน
2. ระบุข้อตกลงหลักในสัญญา
สัญญาเช่าควรมีรายละเอียดสำคัญตามนี้:
- ลักษณะของทรัพย์สิน: ระบุทรัพย์สินที่เช่าชัดเจน เช่น ที่ดิน บ้าน อาคาร หอพัก ฯลฯ
- ระยะเวลาการเช่า: ระบุวันที่เริ่มและสิ้นสุดการเช่า เช่น 1 ปี 3 ปี
- ค่าเช่า: ระบุจำนวนเงินค่าเช่าและวิธีการชำระ เช่น ชำระเป็นรายเดือนหรือรายปี
- เงินประกันความเสียหาย: ระบุจำนวนเงินที่ผู้เช่าต้องวางประกัน และเงื่อนไขในการคืนเงิน
- การดูแลรักษาทรัพย์สิน: ระบุความรับผิดชอบของทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาทรัพย์สิน
- การบอกเลิกสัญญา: ระบุเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญาของทั้งสองฝ่าย เช่น หากผู้เช่าผิดนัดชำระค่าเช่าหรือทำลายทรัพย์สิน
3. ตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัญญาเช่าของคุณเป็นไปตามกฎหมาย เช่น:
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.): โดยเฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องกับการเช่า เช่น มาตรา 537-571 ที่ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า
- หากการเช่าเกิน 3 ปี ควรจดทะเบียนสัญญาเช่าต่อสำนักงานที่ดิน
4. พิจารณาข้อกำหนดเพิ่มเติม
คุณอาจเพิ่มข้อกำหนดพิเศษลงในสัญญาตามความต้องการ เช่น:
- ข้อกำหนดการใช้ทรัพย์สิน: เช่น ห้ามใช้ทรัพย์สินในการประกอบกิจการผิดกฎหมาย
- เงื่อนไขการต่อสัญญา: ระบุว่าจะต่อสัญญาอย่างไรหากครบกำหนดเวลาเช่า
5. ลงนามในสัญญา
เมื่อทั้งสองฝ่ายพึงพอใจในข้อตกลงที่ระบุในสัญญาแล้ว:
- ให้ทั้งผู้ให้เช่าและผู้เช่าลงนามในสัญญา
- อาจมีพยานลงนามเพื่อความน่าเชื่อถือ
- ทำสำเนาสัญญาให้ทั้งสองฝ่ายเก็บไว้คนละชุด
6. การจดทะเบียนสัญญาเช่า (ถ้าจำเป็น)
- หากสัญญาเช่าเป็นระยะเวลาเกิน 3 ปี สัญญาเช่าจะต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินจึงจะมีผลบังคับทางกฎหมาย
การทำสัญญาจะต้องมีเอกสารแนบสัญญาทุกครั้ง สัญญาเช่าต้องมีไว้สองฉบับและต้องลงลายเซ็นของทั้งสองฝ่ายฝั่งละหนึ่งฉบับ และต้องมีสำเนาบัตรประชาชนของผู้ให้
นอกจากรายละเอียดข้างต้นที่ได้กล่าวมานั้น ในเอกสารสัญญาจะใส่เงื่อนไขให้ครบถ้วน โดยมีรายละเอียดของเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้
- เงื่อนไขการเก็บค่าเช่า: ที่ระบุถึงจำนวค่าเช่า ทั้งรายวันและรายเดือนที่แน่นอน
- เงื่อนไขวันครบกำหนดชำระในแต่ละเดือน: (ตัวอย่างเช่น ทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน และช้าได้ไม่เกินวันที่ 5)
- เงื่อนไขการชำระค่าเช่า: ระบุวิธีการชำระค่าเช่า เช่น ชำระเงินสด ชำระโดยการโอนผ่านธนาคาร ฯลฯ เป็นต้น
- เงื่อนไขค่าปรับ: ในกรณีผู้เช่าทำการชำระล่าช้า ผู็ให้เช่าจะต้องระบุจำนวนค่าปรับหรือดอกเบี้ยที่ต้องชำระไว้ให้ชัดเจน
- เงื่อนไขเงินประกัน: ระบุจำนวนเงินประกันให้ชัดเจน โดยสามารถเรียกเก็บเงินประกันได้สูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเช่า
- เงื่อนไขการคืนเงินประกัน: กำหนดเงื่อนไขการคืนเงินประกันให้ครบถ้วน ควรทำการตรวจสอบห้องพักว่าได้รับความเสียหายหรือไม่ก่อนทำการคืนเงินประกันให้กับผู้เช่าและการคืนเงินประกันจะต้องชำระคืนภายในเวลาที่กำหนด (เช่น ภายใน 7 – 30 วัน นับจากวันที่สัญญาสิ้นสุด)
- เงื่อนไขการชำระค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ: ผู้ให้เช่าควรระบุอัตรค่าน้ำค่าไฟที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ แต่ต้องคิดตามหน่วยที่ใช้จริงหรือตามที่ผู้ให้เช่าได้กำหนดไว้แล้ว (โดยค่าไฟตามกฎหมายกำหนดไม่เกิน 4 บาทต่อหน่วย และน้ำคิดตามกฎหมายกำหนดไม่เกิน 7% จากค่าน้ำจริง)
- เงื่อนไขการใช้ห้องพัก: การดูแลทรัพย์สินในห้องพัก การใช้ผู้อื่นพักอาศัย ข้อห้ามในการใช้หอพัก โดยผู้เช่าต้องปฏิบัติตามระเบียบที่เจ้าของหอพักหรือผู้ให้เช่าเป็นคนกำหนด หากทำผิดข้อตกลงต้องชดเชยความเสียหายตามสัญญาหรือเงื่อนไข
- เงื่อนไขการซ่อมแซม: ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบและซ่อมแซมสิ่งของชำรุดที่เกิดจากการใช้งานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำประปา อุปกรณ์กรณต่าง ๆ ที่ชำรุดหรือเสียหาย และในส่วนของฝั่งผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการใช้งานโดยประมาท เช่น การทำเครื่องใช้ไฟฟ้า/เฟอร์นิเจอร์เสียหาย การทำผนัง/พื้นมีรอยขีดข่วน ฯลฯ
- เงื่อนไขการบอกเลิกสัญญา: ผู้เช่าสามารถแจ้งบอกเลิกสัญญาเช่าได้ โดยต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน เป็นอย่างต่ำ ก่อนทำการย้ายออก และผู้ให้เช่าสามารถแจ้งบอกเลิกสัญญาเช่าได้ โดยหากผู้เช่าละเมิดข้อตกลงในสัญญา เช่น การไม่ชำระค่าเช่า การทำห้องพักเสียหาย หรือการละเมิดข้อปฏิบัติของหอพัก
- เงื่อนไขการคืนห้องพัก: การคืนห้องพักผู้เช่าจะต้องคืนห้องพักให้อยู่ในสภาพเดิม หากเกิดความเสียหายหรือชำรุดที่เกิดจากการใช้งานที่ผิดปกติ ผู้ให้เช่าสามารถทำการหักเงินประกันของผู้เช่าได้เพื่อนำไปซ่อมแซม และผู้ให้เช่าจะต้องตรวจสอบสภาพห้องพักเมื่อผู้เช่าออกย้ายอก เพื่อทำการประเมินความเสียหายและคืนเงินประกัน
- เงื่อนไขสิทธิ์การเข้าตรวจห้องของผู้ให้เช่า: ผู้ให้เช่าจะไม่สามารถเข้าห้องพักของผู้เช่าได้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต เว้นแต่หากเกิดกรณีฉุกเฉินหรือมีการซ่อมแซมจะต้องทำการแจ้งล่วงหน้าตามเวลาที่เหมาะสม
- เงื่อนไขการต่ออายุสัญญา: หากต้องการต่อสัญญาในการเช่าอยู่ผู้เช่าจะต้องทำการแจ้งผู้ให้เช่าล่วงหน้า และผู้ให้เช่ามีสิทธิ์ปรับขึ้นค่าเช่าหลังจากหมดอายุสัญญา
- เงื่อนไขการของข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัย: ผู้ให้เช่าต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารและทรัพย์สินที่เช่าอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการบำรุงรักษาโครงสร้างและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ลิฟต์ ระบบไฟฟ้า หรือระบบประปา เพื่อให้แน่ใจว่าอาคารอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย
การทำสัญญาเช่ามีหลากหลายประเด็นที่ควรรู้และพิจารณาเพื่อให้การเช่าเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าควรรู้และอ่านกฎระเบียบ เงื่อนไข และข้อตกลงให้ถี่ถ้วนจะดีที่สุด เพื่อลดการเกิดปัญหาขัดแย้งในภายหลัง
บริหารหอพักในกำมือด้วย Horganice โปรแกรมบริหารจัดการหอพักและอพาร์ตเมนต์ให้เช่า
โปรแกรม Horganice เป็นโปรแกรมบริหารหอพักสัญชาติไทยที่พัฒนาโดยคนไทย
- ใช้ระบบ Cloud ที่ดีที่สุดเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้
- ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลจะหายไป เพราะเรามีทีม Developer ดูแลข้อมูลและสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
- ข้อมูลไม่ถูกส่งต่อไปยังบุคคลที่ 3 โดยที่ไม่ได้รับความยินยอม
- * ฮอร์แกไนซ์ไม่ได้มีหน้าที่ส่งข้อมูลให้สรรพากร แต่เราอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้โดยการที่ผู้ใช้สามารถ export หน้าบัญชีออกไปเป็นไฟล์ Excel เพื่อให้ง่ายในการรวบรวมข้อมูลรายรับ – รายจ่ายได้)
ฮอร์แกไนซ์เราเข้าใจถึงปัญหาที่เจ้าของหอพักต้องเจอเป็นอย่างดี เรามีประสบการณ์ในด้านการพัฒนาระบบพื้นที่เช่าทั้งห้องเช่า บ้านเช่า หอพักและอพาร์ทเมนต์ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ตลอดระยะเวลาฮอร์แกไนซ์ได้มีการปรับปรุงและอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด
แหล่งอ้างอิง : https://ddcondoland.com/news_detail และ https://www.kasikornbank.com/th/propertyforsale